ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

ตัวแบบแรงดึงดูด

gravity model

ทฤษฎีที่อธิบายแนวโน้มการย้ายถิ่นภายในประเทศ (internal migration) ซึ่งจอร์จ เค. ซิปฟ์ (George K. Zipf) พัฒนามาจากกฎของเรเวนส์ไตน์ (Ravenstein?s laws) ระบุความสัมพันธ์ระหว่างการย้ายถิ่นกับขนาดของประชากร ๒ พื้นที่ และระยะทางระหว่างพื้นที่ทั้งสอง ตัวแบบแรงดึงดูดพยายามอธิบายการย้ายถิ่นด้วยกฎทางฟิสิกส์ โดยเสนอว่า การย้ายถิ่นของประชากรมีลักษณะเหมือนกับการถูกแรงดึงดูดซึ่งจะลดพลังลงตามระยะห่างระหว่างพื้นที่ จำนวนผู้ย้ายถิ่นระหว่าง ๒ พื้นที่เป็นสัดส่วนโดยตรงกับผลคูณของประชากรใน ๒ พื้นที่ และผกผันกับระยะทางระหว่างพื้นที่ทั้งสอง

ตัวแบบแรงดึงดูดพยายามอธิบายการย้ายถิ่นด้วยกฎทางฟิสิกส์ โดยเสนอว่า การย้ายถิ่นของประชากรมีลักษณะเหมือนกับการถูกแรงดึงดูดซึ่งจะลดพลังลงตามระยะห่างระหว่างพื้นที่ จำนวนผู้ย้ายถิ่นระหว่าง 2 พื้นที่เป็นสัดส่วนโดยตรงกับผลคูณของประชากรใน 2 พื้นที่ และผกผันกับระยะทางระหว่างพื้นที่ทั้งสอง

พจนานุกรมศัพท์ประชากรศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015